การบริการ

 

หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไป 

(Basic Life Support for Non-Healthcare Provider)

 

             หลักสูตร BLS-NHCP สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่บุคคลากรทางการแพทย์ มุ่งเน้นการให้ความรู้กับประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ที่ถูกต้องตามแนวทางปฏิบัติล่าสุด สามารถนำทักษะและการเรียนรู้ไปช่วยชีวิตผู้ประสบภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน (Sudden Cardiac Arrest) ที่เกิดขึ้นภายนอกโรงพยาบาล (Out of Hospital Sudden Cardiac Arrest) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามแนวทางปฏิบัติ เนื้อหาหลักสูตรมีความเหมาะสมเข้าใจง่าย สามารถนำไปปฏิบัติกรณีเกิดเหตุการณ์จริงได้ การฝึกอบรมประกอบด้วยการเรียนรู้ทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติร่วมกับหุ่นฝึก(Manikins)ที่ได้มาตรฐาน สามารถวัดประสิทธิภาพการกดหน้าอกได้และอุปกรณ์มาตรฐานอื่นๆ อาทิ เช่น เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ(Automated External Defibrillator: AED) โดยมีอัตราส่วนหุ่นฝึกจำนวน 1 ชุดต่อผู้เข้าอบรม <3 คน (1:3) มีวิทยากร 1 คนต่อผู้เข้าอบรม 6 คน (อัตราส่วน <1:6 เป็นอย่างน้อย) สำหรับการฝึกอบรมจำกัดจำนวนไม่เกิน 36 คน เพื่อให้มีการเรียนรู้และพัฒนาทักษะสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

 


วัตถุประสงค์หลักสูตรฝึกอบรม

               หลักสูตรการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่บุคคลากรทางการแพทย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเรียนการสอนสำหรับผู้สนใจทั่วไป อาทิ อาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัย อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ตำรวจ ทหาร พนักงานดับเพลิง พนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) พนักงานบริษัท เจ้าหน้าทีด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (จป.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบล (อสม.) นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เป็นต้น

เนื้อหาหลักสูตรฝึกอบรม

  • เนื้อหาหลักสูตรเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติล่าสุดของการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR 2015 Guidelines) สำหรับบุคคลทั่วไป (Non-Healthcare Provider)
  • การเรียนการสอนมุ่งเน้นตามการช่วยชีวิตตามหลักการห่วงโซ่การรอดชีวิต (Chain of Survival) สำหรับกรณีหัวใจหยุดเต้นฉับพลันภายนอกโรงพยาบาล (Out of Hospital Sudden Cardiac Arrest: OHCA)
  • ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลากรทางการแพทย์และบุคคลทั่วไป (Healthcare Provider and Non-Healthcare Provider)
  • การฝึกอบรมหลักสูตรมุ่งเน้นภาคปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะสำหรับการช่วยชีวิตอย่างมีคุณภาพ (High-Quality CPR)
  • การช่วยชีวิต (CPR) กรณีมีผู้ช่วยเหลือเพียง 1 คน (1-Rescuer) และกรณีมีผู้ช่วยเหลือ 2 คน (2-Rescuer) รวมถึงการใช้งานเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติหรือ AED
  • ความแตกต่างระหว่างการช่วยชีวิตโดยการกดหน้าอก (Chest Compression) สำหรับเด็กเล็ก (Infant) เด็กโต (Child) และผู้ใหญ่ (Adult)
  • การช่วยหายใจ (Breathing) โดยการเป่าปากสำหรับเด็กเล็ก เด็กโตและผู้ใหญ่
  • ความแตกต่างของการช่วยเหลือชีวิตขั้นพื้นฐานระหว่างบุคคลากรทางการแพทย์ (Healthcare) และบุคคลทั่วไป (Non-Healthcare)
  • การช่วยเหลือการอุดตันทางเดินหายใจโดยการบีบรัดตัว (Choking) สำหรับผู้ใหญ่ เด็กโตและเด็กเล็ก โดยมีการฝึกปฏิบัติร่วมกับหุ่นฝึกและอุปกรณ์ เป็นต้น
 
 
    
 
 

   วิทยากรผู้ฝึกอบรม

                วิทยากรฝึกอบรมจำนวน 1 ท่านต่อผู้เข้าอบรม 6 ท่าน (1:6) โดยผู้เข้าอบรมจำนวน 36 คนต่อรุ่นจะมีวิทยากร 7 ท่าน (วิทยากรหลัก 1 ท่าน) เพื่อประสิทธิภาพในการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ ทั้งนี้ วิทยากรแต่ละท่านผ่านการฝึกอบรม  หลักสูตรวิทยากร การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไป (Instructor of Basic Life Support for Non-Healthcare Provider) วิทยากรรับรองโดยสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association: AHA) หรือจากคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิตแห่งประเทศไทย (Thai Resuscitation Council: TRC) สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Heart Association of Thailand under the Royal Patronage) 

    การจบหลักสูตร

                 ผู้เข้าอบรมจะได้รับการความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้ที่ถูกต้องและเข้าใจง่าย รวมทั้งการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะสามารถนำไปให้การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุในสถานการณ์จริงได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยผู้เข้าอบรมจะต้องผ่านการทดสอบข้อเขียน (>80%) และทดสอบภาคปฏิบัติ (>80%)  โดยการทดสอบกับหุ่นจำลองการฝึกอบรมที่สามารถวัดประสิทธิภาพการกดหน้าอก การช่วยหายใจ ร่วมกับการใช้งานกับเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (AED) ทักษะการช่วยชีวิตกรณีผู้ประสบภาวะทางเดินหายใจอุดกัน (Choking) และทักษะอื่นๆ ตามแนวทางปฏิบัติล่าสุด

 

ตารางการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

(BLS-NHCP AGENDA)